ศบศ. ได้มีการเห็นชอบในโครงการบริหารเศรษฐกิจระยะกลางและระยะยาว ทั้งหมด 5 โครงการด้วยกัน อาทิ โครงการรถแลกแจกแถม (นำ รถเก่า มาแลก รถใหม่) เป็นต้น นายดถนุชา พิชยนันท์ เลขธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช. หรือสภาพัฒน์) ได้เปิดเผยว่า ทาง ศบศ. ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานได้พิจารณาเห็นชอบกับ ข้อเสนอโครงการบริหารเศรษฐกิจในระยะกลาง และระยะยาว ตัวอย่างก็เช่น โครงการรถแลกแจกแถม (การนำ รถเก่า มาแลกกับ รถใหม่ จำนวน 100,000 คัน)
โดยเป็นข้อเสนอที่มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 5 โครงการด้วยกัน ซึ่งโครงการทั้งหมดนั้น มีรายละเอียดคร่าว ๆ ดังนี้
1.การขับเคลื่อนเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมยานพาหนะไฟฟ้า เพื่อให้ประเทศไทยเป็นเมืองสะอาด เช่น โครงการรถแลกแจกแถม (ตามที่ได้กล่าวไป), โครงการจักรยานยนต์ไทยชนะ และโครงการจัดหารถโดยสาร ของ ขสมก.
2.การส่งเสริมอุตสาหกรรมเครื่อฝมือทางการแพทย์
3.การส่งเสริมการจ้างงาน อาทิ การเสริมสร้างการจ้างงานในภูมิลำเนา, โครงการบริหารชุมชนระดับหมู่บ้าน และการส่งเสริมการใช้งานอินเตอร์เน็ตประชารัฐ
4.การสนับสนุนการเดินทางเข้ามาประเทสไทยของชาวต่างชาติ อาทิ การผ่อนปรนกฎเกณฑ์การขอสินเชื่อของชาวต่างชาติ, การเพิ่มจำนวนสถานที่กักตัวทางเลือก และการจัดตั้งสถานที่กักกันแรงงานต่างด้าวใน 11 จังหวัด
5.การบริหารจัดการภาครัฐด้านการเงิน และการค้าระหว่างประเทศ อาทิ การจัดทำข้อมูลด้านทรัพยากรการเงินของประเทศ และการรักษา เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
ทั้งนี้ นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้กล่าวว่าทาง ศบศ. ได้มีการเห็นชอบในส่วนของ แพ็คเกจสำหรับสำหรับนักท่องเที่ยวตางชาติที่เข้ามากักตัว และท่องเที่ยวในประเทศไทย (Amazing Thailand Plus Special Package)
ที่เป็นการเปิดให้สามารถจองตั๋วเครื่องบิน ขอวีซ่ จองที่พักโรงแรมเป็นสถานที่กักตัวได้ และมีแพ็คเกจทัวร์เสริมด้วย ซึ่งในโครงการนี้จะต้องมีการจ่ายเงินในทันที ผ่านเว็บไซต์ของการบินไทย หรือ ททท. โดยมีให้เลือก 3 แพ็คเกจด้วยกัน โดยจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 2563 ถึง 31 มี.ค. 2564 และสามารถเดินทางได้ถึงวันที่ 30 เม.ย. 64
ทาง ททท. จะทำการสนับสนุนเงินค่าเดินทาง ทั้งในส่วนของค่ารถ ค่าตั๋วเครื่องบิน ผ่านงบประมาณ 20 ล้านบาทของ ททท.
รวมทุกคำถาม ช้อปดีมีคืน คืนภาษีกี่บาท ดีกว่า คนละครึ่งยังไง
จากกรณีสถานการณ์โควิด-19 ที่ส่งผลต่อภาคเศรษฐกิจระดับประเทศ ส่งผลให้รัฐบาลต้องออกโครงการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจหลายโครงการ ที่สำคัญคือ ช้อปดีมีคืน กับคนละครึ่ง มาเปรียบเทียบระหว่าง 2 โครงการนี้กัน
คนละครึ่ง คือโครงการที่รัฐบาลจะช่วยจ่ายค่าสินค้าและบริการที่ประชาชนจ่าย ในอัตรา 50:50 ให้ยอดวงเงินสูงสุดไม่เกิน 3,000 บาท ไม่เกิน 150 บาทต่อวัน สามารถใช้ได้ถึง 31 ธันวาคม 2563 เงื่อนไขคือ ผู้ที่จะใช้โครงการช้อปดีมีคืน จะไม่สามารถใช้คนละครึ่งได้ อีกทั้งคนละครึ่งต้องลงทะเบียน มีโควต้าให้ 10 ล้านคน
ส่วนช้อปดีมีคืน คือโครงการที่ทุกคนสามารถใช้ได้ ไม่ต้องลงทะเบียน เป็นการใช้จ่ายซื้อสินค้าและบริการ แล้วตอนยื่นภาษีสามารถขอคืนภาษีได้สูงสุดตามอัตรารายได้ อ้างอิงจากเมื่อซื้อของครบ 30,000 บาท โครงการนี้สามารถซื้อของได้ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2563 เข่นเดียวกัน
ข้อแตกต่างหลัก ๆ ของ 2 โครงการนี้เลยคือ คนละครึ่งจะช่วยแบ่งเบาค่าใช้จ่ายการซื้อสินค้าให้ถูกลงครึ่งหนึ่ง เหมาะกับการใช้ในชีวิตประจำวัน พวกเครื่องอุปโภคบริโภค ขณะที่ ช้อปดีมีคืน เราซื้อสินค้าจะต้องจ่ายเต็ม แล้วจะได้เงินภาษีคืนทีหลังตามอัตราที่กำหนด
ทางธนาคาร กสิกรไทย ได้ร่วมมือกับ เคาน์เตอร์เซอร์วิส ทำการต่อยอดการเป็น แบงกิ้งเอเยนต์ ให้มากขึ้น ไม่ว่าจะในการเพิ่มความสะดวกให้แก่ลูกค้าในการทำ ธุรกรรม ด้านเงินฝากให้ครบถ้วนมากขึ้น
โดยทางธนาคาร กสิกรไทย ได้ประสานความร่วมมือในการให้บริการ ธุรกรรม ในด้านเงินฝากอย่างครบวงจรที่ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้นกับ เคาน์เตอร์เซอร์วิส ต่อยอดการเป็น แบงกิ้งเอเยนต์ โดยจะมีการเปิดจุดบริการยืนยันตัวตน (K Check ID) ที่เคาน์เตอร์เซอร์วิสในร้าน 7-11 ทุกสาขาทั่วประเทศกว่า 12,500 แห่ง
ทั้งนี้นายพิพัฒน์ โปษยานนท์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย ได้เปิดเผยว่า ความร่วมมือในครั้งนี้เป็นการต่อยอดการให้บริการแก่ลูกค้าของธนาคาร โดยภายหลังจากการเปิดจุดบริการยืนยันตัวตน (K Check ID) แล้วนั้นจะทำให้ลูกค้าสามารถทำธุรกรรมในด้านเงินฝากได้สะดวกยิ่งขึ้น ไม่จำเป็นต้องมาที่ธนาคารสาขาย่อย
Credit : แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว | แต่งบ้านและสวน | พระเครื่อง | รีวิวกล้องถ่ายรูป